นโยบายและแผน
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย๑) นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ได้แก่การบริหารและการพัฒนาองค์กร การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยมและทัศนคติของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารงาน อีกทั้งการสร้างบรรยากาศในการทำงาน การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากร เพื่อให้บุคลากรพร้อมที่จะพัฒนาตนเองและใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ในการที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการบริหารราชการและการให้บริการแก่ประชาชน โดยให้ยึดปรชาชนเป็นศูนย์กลางและยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก ๒) นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันได้แก่ ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐน เพื่อยกระดับคุรภาพชีวิตของประชาชนและเป็นการวางรากฐานการพัมนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย ๒.๑ ถนน สร้างและบำรุงรักษาถนนทุกสาย ให้เป็นถนนที่ได้มาตรฐาน ติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชน และความปลอดภัยในการใช้ถนน ๒.๒ ไฟฟ้าสาธารณะ ขยายเขตระบบไฟฟ้าสาธารณะให้ครอบคลุมและทั่วถึง ติดตั้งโคมไฟฟ้าสาธารณะตามถนนสายต่าง ๆ ทุกสาย ซ่อมแซม บำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานและรวดเร็วเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และลดอุบัติเหตุในเวลากลางคืน ๒.๓ ระบบน้ำประปา สร้างและบำรุงรักษาระบบน้ำประปาให้ได้มาตรฐานครอบคลุมทุกหมู่มบ้าน ทุกหลังคาเรือนให้มีน้ำใช้อย่างทั่วถึง สะอาด พัฒนาระบบซ่อมแซมให้รวดเร็วขจัดปัญหาน้ำไหลอ่อนหรือหยุดไหล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนโดยด่วน ๒.๔ เสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ให้มีการดูแลบำรุงรักษา ขุดลอกคูคลอง ทางระบายน้ำ และเสริมถนนทุกสายในพื้นที่ให้มีระดับสูงขึ้น ๓) นโยบายด้านเศรษฐกิจ เดิมตำบลงิ้วรายเป็นชุมชนเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุคของการพัมนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการขยายชุมชนจากเมือง มีการขยายภาคอุตสาหกรรม จึงต้องดำเนินการพัฒนาภาคเกษตรกรรมควบคู่กับภาคอุตสาหกรรมไปอย่างเป็นระบบ ภาคเกษตรกรรม ๑. สร้างเสริมกระบวนการเรืยนรู้ นำเทคโนโลยีทั้งด้านความรู้ เครื่องมือ อุปกรณ์ มาประยุกต์ให้เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการเกษตร ๒. ส่งเสริมองค์ความรู้ กิจกรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ๓. สร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม องค์กร ระบบเศรษฐกิจชุมชน ขยายเครือข่าย เพิ่มประสิทธิภาพกองทุนต่าง ๆ ภาคอุตสาหกรรม ๑. ส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จากภาคอุตสาหกรรม ๒. ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขยาย่อม ๓. ส่งเสริมการสร้างงานสร้างรายได้ของประชาชนจากภาคอุตสาหกรรม ๔. พัฒนาฝีมือแรงงานของคนในชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน สร้างเครื่องมือในการต่องรองรายได้ ๔. นโยบายด้านสังคม การสร้างสังคมให้น่าอยู่ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ให้รู้สึกปลอดภัยน่าอยู่ มีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดี สร้างโอกาสให้ทุกคน ทุกวัยมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมสายใยครอบครัว สังคมดีต้องเริ่มจากที่บ้าน สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับทุกคนทุกวัย เพื่อสร้างความเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัว โดยเน้นนโยบาย ชุมชนสามวัย สร้างความสามัคคีความเข็มแข็งชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สนับสนุนกิจกรรม สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สงเคราะห์และส่งเสริมกิจกรรมขอผู้ด้อยโอกาสไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนชรา ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ให้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้รณรงค์ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึกให้คนในชุมชนมีจิตสาธารณะ ป้องกันกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากพื้นที่ โดยการบูรณาการกับหน่วยงานของรัฐเอกชน และประชาชน ๕. นโยบายด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สร้างประสิทธิภาพการบริหารสาธารณสุขเชิงรุก สร้างสุขอนามัยในครอบคลุม เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางกายและจิตใจ ๕.๑ ส่งเสริมระบบสาธารณสุขมูลฐานให้มีความเข้มแข็ง ๕.๒ สนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครสาธารณสุข ๕.๓ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลรักษาสุขภาพตนเองในเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ๕.๔ ปรับภูมิทัศน์ภายในตำบลให้สวยงาม ๕.๕ สร้างระบบการเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ได้มาตรฐาน ๕.๖ ปรับปรุงและพัฒนาระบบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๕.๗ เฝ้าระวังการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังโดยภาคประชาชน ๕.๘ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลเฝ้าระวังและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๖. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและกีฬา ๖.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบอย่างต่อเนื่อง เพราะการศึกษาเป็นอาวุธสำคัญในการพัฒนา ๖.๒ สนับสนุนให้มีเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชนจากปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสร้างองค์ความรู้โดยชุมชนสู่ชุมชน ๖.๓ ส่งเสริมสนับสนุนรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ๖.๔ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ๖.๕ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในชุมชน และส่งเสริมการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับต่าง ๆ และพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา เพื่อแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นไป ๖.๖ สนับสนุนให้มีสนามกีฬาที่ได้มาตรฐาน ๗. นโยบายด้านการเมืองและการบริหาร ๗.๑ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใรการทำงานร่วมกับ อบต. มีกระบวนการนำความคิดเห็นของประชาชนมาประกอบการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม ๗.๒ พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ เพื่อรองรับภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้สัมฤทธิ์ผล ๗.๓ จัดบรรยากาศองค์กรให้เป็นบรรยากาศแห่งการต้อนรับประชาชนด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มใจบริการ โดยยึดหลัก "การบริหารคืองานของเรา" ๗.๔ เพิ่มประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์แบบบูรณาการ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายให้ประชาชนยอมรับและเชื่อถือ ๗.๕ เพิ่มมาตราการการปฏิบัติงานเชิงรุก ลงพื้นที่ให้บริการกับประชาชน ๗.๖ เน้นการบริหารราชการโดยยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (หลักธรรมาภิบาล) |